เมื่อนึกถึงสหกรณ์หรือสถาบันการเงินอื่นๆ สองสิ่งนี้จะเข้ามาในหัวเราตลอด คือ การฝากเงิน และการกู้เงิน สถาบันการเงินต่างๆ เมื่อมีเงินเข้ามาแล้วก็ต้องนำไปลงทุนต่อเพื่อต่อยอดเงินนั้นและคืนกำไรให้กับผู้ฝาก และช่องทางที่เป็นที่นิยมมากที่สุดคือ การให้สินเชื่อนั่นเองโดยวันนี้เราจะพูดในมุมของสหกรณ์อิสลาม . สหกรณ์อิสลามจะให้สินเชื่อ ภายใต้หลักการ บัยอฺ มุรอบาฮะ (การซื้อขายโดยเปิดเผยต้นทุนและกำไร) ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดในหลักการนี้คือ จะต้องมีสินค้าที่สามารถบวกกำไรได้ เช่น (อุปกรณ์ทำมาหากิน ยานพาหนะ โทรศัพท์ โทรทัศน์ ฯลฯ ) เมื่อมีสินค้าที่ต้องการ สหกรณ์จะซื้อสินค้านั้น และ ขายบวกกำไรต่อให้สมาชิกโดยการจ่ายผ่อนชำระเป็น งวดๆ ให้กับสหกรณ์ตามสัญญาที่ตกลงกันไว้ . เงินที่สหกรณ์นำไปซื้อของและขายต่อให้กับสมาชิกสหกรณ์ ก็คือ เงินฝากของสมาชิกสหกรณ์ทุกคนได้ฝากเข้ามาเพื่อร่วมลงทุน หรือ ฝากรักษาทรัพย์ไว้กับสหกรณ์นั่นเอง . ดังนั้นผู้มาใช้สินเชื่อก็จะต้องมี อะมานะห์ (ความรับผิดชอบ) ต่อสัญญาที่ได้ตกลงกันไว้ตอนที่ตกลงซื้อขายกัน หลายท่านมีธุรกิจเติบโต และประสบความสำเร็จจากการใช้สินเชื่อสหกรณ์ หลายท่านมีของใช้ที่ตนเองอยากได้ และอัลฮัมดุลิลลาฮฺบางท่านเข้ามาต่อรองปรับโครงสร้างหนี้ เนื่องจากประสบปัญญาทางการเงิน แต่บางท่านเลือกที่จะหายไปโดยไร้การติดต่อกลับมา เหมือนดั่งไม่เคยมีการตกลงสัญญากันมาก่อน ก็อาจจะต้องมีการสอบถามหรือดำเนินการด้านกฏหมายต่อไป . ในบทความหน้าอินชาอัลลอฮฺ เราจะมาบอกวิธีการ เมื่อรู้ว่าตนเองไม่สามารถผ่อนชำระตามที่ตกลงสัญญาไว้ได้ ควรทำอย่างไร โปรดติดตามตอนต่อไป......... #SIC #ศรัทธาชนอิบนูเอาฟ #การเงินอิสลาม